การฝังเข็ม คือศาสตร์หนึ่งในการแพทย์แผนจีน ซึ่งชาวจีนใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี โดยการใช้เข็มขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดฝังเข็มต่างๆ บนร่างกาย ซึ่งเป็นจุดพลังงานของอวัยวะแต่ละส่วน เพื่อปรับให้พลังงานและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่เสียสมดุลไป กลับมาอยู่ในภาวะสมดุล
ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก WHO (World Health Organization) และสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ NIH (National Institutes of Health) ยอมรับว่าการฝังเข็มเป็นทางเลือกที่สมเหตุผล และการฝังเข็มเพื่อรักษาโรคบางชนิดนั้นได้ผลดี
รวมทั้งยังมีหลายงานวิจัยพบว่า โรคบางโรค เช่น กรดไหลย้อน ปวดหัว ปวดศีรษะไมเกรน สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม และให้ผลการรักษาดีเทียบเท่า หรือมากกว่าการใช้ยา โดยมีความปลอดภัยและไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากการใช้ยาอีกด้วย
การฝังเข็ม คือศาสตร์หนึ่งในการแพทย์แผนจีน ซึ่งชาวจีนใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี เพื่อปรับให้พลังงานและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายกลับมาสู่สภาวะสมดุล
สมุนไพรนั้นได้มาธรรมชาติ สามารถใช้เป็นยา หรือผสมกับส่วนประกอบอื่นตามตำรับยา หากใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถส่งเสริมสุขภาพและบรรเทารักษาโรคได้
เป็นวิธีดูแลสุขภาพตามธรรมชาติ การล้างสารพิษที่สะสมในร่างกายออกไป จะทำให้แข็งแรงขึ้น เลือดลมเดินสะดวก ถ้าทำเป็นประจำก็จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพและบรรเทาโรคร้ายแรงได้
ผู้ที่ตื่นเต้นหวาดกลัว เหน็ดเหนื่อยเกินไป สตรีตั้งครรภ์ใกล้คลอด ทารกเด็กเล็ก ผู้ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษา หรือเป็นโรคติดเชื้อต่างๆ โรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจในร่างกาย ผู้มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
ผู้ป่วยที่มาฝังเข็ม อาจมีโรคประจำตัวอื่นอยู่แล้ว และมักจะมียาที่ต้องรับประทานอยู่เป็นประจำ หรือมีการกายภาพบำบัด ซึ่งการฝังเข็มสามารถรักษาควบคู่ไปด้วยกันได้ได้ โดยไม่มีข้อห้ามอะไร อย่างไรก็ตาม ควรแจ้งโรคประจำตัวให้แพทย์ผู้ฝังเข็มทราบ
การฝังเข็มต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยหวาดกลัว ดิ้นหรือเกร็งย่อมไม่เกิดผลดีขณะทำการรักษา ควรมีความเชื่อมั่นและมั่นใจเมื่อมารักษา
การฝังเข็มต้องใช้วัตถุแหลมปักผ่านผิวหนังลงไปในร่างกาย จึงควรมีสภาพร่างกายที่สะอาด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคให้มากที่สุด
ตำแหน่งจุดปักเข็มบางครั้งอยู่บริเวณใต้ร่มผ้า จึงควรสวมใส่เสื้อผ้าที่เป็นชุดแยกส่วน และไม่รัดแน่นเกินไป เพื่อสะดวกในการพับแขนเสื้อและปลายขากางเกง หากต้องปักเข็มบริเวณไหล่หรือต้นคอก็ควรเลือกสวมเสื้อที่มีคอกว้าง
ควรรับประทานอาหารมาก่อน 1-2 ชั่วโมง แต่อย่าให้มากเกินไป และไม่ควรมาในขณะที่ท้องว่าง เพราะอาจหน้ามืดเป็นลมเนื่องจากร่างกายขาดพลังงาน ในขณะที่ระบบประสาทและฮอร์โมนกำลังถูกกระตุ้นจากการฝังเข็ม
ขณะที่มีเข็มปักคาร่างกาย ควรอยู่นิ่งๆ ในสภาพที่สงบผ่อนคลาย หากมีอาการผิดปกติ เจ็บปวดหรือไม่สบายใดๆ ให้รีบบอกแพทย์ผู้รักษาหรือผู้ช่วยแพทย์ทันที
โดยทั่วไปแล้วไม่มีข้อห้ามอะไรเป็นพิเศษ สามารถรับประทานอาหาร ทำกิจวัตรต่างๆ ได้ตามปกติ เว้นแต่บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียบ้าง เมื่อนอนพักแล้วก็จะหาย
บริษัท ภัทระ คลินิกเวชกรรม จำกัด
เลขที่ 714,716 ซอยศูนย์การค้าแฮปปี้แลนด์ 1 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240